ประวัติ

ประวัติการก่อตั้ง

วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา จัดตั้งโดยมติสภามหาวิทยาลัยพะเยา โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7(3) มาตรา 8 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2556 เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556 และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป

ในการจัดตั้งวิทยาลัยการศึกษาเป็นหน่วยงานใหม่ สภามหาวิทยาลัยได้มอบหมายภารกิจด้านการศึกษา โดยเฉพาะความรับผิดชอบในการบริหารจัดการหลักสูตรด้านการศึกษาทุกระดับทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในการประชุมคราวเดียวกัน สภามหาวิทยาลัยพะเยาได้ยุบเลิกวิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่อง โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ต่อมามหาวิทยาลัยพะเยาได้มีคำสั่งโอนย้ายพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา ทั้งหมดจำนวน 21 ราย จากสังกัดวิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่องไปสังกัดวิทยาลัยการศึกษา ดังนั้นการบริหารจัดการจึงมีความเชื่อมโยงระหว่างองค์กรใหม่คือ วิทยาลัยการศึกษากับองค์กรเก่าคือ วิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่องในแง่บุคลากร แต่แตกต่างในด้านภารกิจ ความรับผิดชอบ ประวัติของวิทยาลัยการศึกษาจึงเป็นประวัติการสานต่อองค์กรของวิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่อง

วิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่อง เดิมเป็นบัณฑิตวิทยาลัยในสังกัดศูนย์วิทยบริการ จังหวัดพะเยา มหาวิทยาลัยนเรศวร ภายใต้ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร บริหารจัดการการศึกษาระดับปริญญาโท 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคมหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศ รวมทั้งหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพัฒนาสังคม (โครงการพิเศษ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ศูนย์วิทยบริการจังหวัดพะเยา ได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา และบัณฑิตวิทยาลัยเปลี่ยนเป็น สำนักงานการศึกษาภาคพิเศษ รับผิดชอบการบริหารจัดการเพิ่มจากเดิมอีก 5 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปริญญาเอก 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปริญญาโท 7 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาตร มหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและโรงแรม และหลักสูตรปริญญาตรี 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม (โครงการพิเศษ) หลักสูตรสาธารณสุข ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (โครงการพิเศษ) ต่อมามหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยาได้รับการยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยพะเยา เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 สำนักงานการศึกษาภาคพิเศษ จึงยกฐานะเป็นวิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่อง รับผิดชอบการบริหารจัดการ หลักสูตรปริญญาโท 7 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและโรงแรม และหลักสูตรปริญญาตรี 5 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม (โครงการพิเศษ) หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (โครงการพิเศษ) รวมทั้งการจัดการฝึกอบรมและการบริการวิชาการ

ปรัชญา : "การศึกษาเป็นฐานรากของมนุษย์"

เอกลักษณ์ : "ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน (Wisdom for community Empowerment)"

อัตลักษณ์ : "มีสุนทรียภาพ มีสุขภาพดี มีบุคลิกภาพดี"

วิสัยทัศน์ : "ผลิตและพัฒนาครูมืออาชีพที่เป็นสากล"


สีประจำวิทยาลัยการศึกษา
สีทอง: "หมายถึง ความรุ่งเรืองแห่งปัญญา"
สีชมพู: "ความมีพลังและความคิดสร้างสรรค์"
สีทอง ชมพู: หมายถึง ความมีพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์และความรุ่งเรืองแห่งปัญญา

รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
(Associate Professor Sombat Noparak , Ph.D.)

เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2484 เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่วิทยาลัยการศึกษาประสานมิตรจนสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต [กศ.บ(อังกฤษ - ไทย)]ในปี พ.ศ.2512 จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่ The Maharaja Sayajirao University of Baroda, India จนสำเร็จการศึกษา M.Ed.(Educationl Administration)เมื่อปี พ.ศ.2519 ต่อมาเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอกจนสำเร็จการศึกษา Doctor of Philosophy(Ph.D.) จาก The Maharaja Sayajirao University of Baroda, India เมื่อ ปี พ.ศ.2538 เริ่มรับราชการครั้งแรกที่โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา

ชื่อ สมบัติ นพรัก สัญชาติ ไทย ชาติพันธุ์ ไทย การศึกษา Ph.D. (Education) The Maharaja Sayajirao University of Baroda, India องค์การ วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา ชาติพันธุ์ ไทย ศาสนา พุทธ คู่สมรส รองศาสตราจารย์พรรณยุพา นพรัก บุตร 1 คน